Flightplan (2005) ไฟลท์แพลน เที่ยวบินระทึกท้านรก

Flightplan (2005)
ไฟลท์แพลน เที่ยวบินระทึกท้านรก
Director: Robert Schwentke
Genres: Drama | Mystery | Thriller
Grade: C+
 
ไม่รู้ทำไมแต่การรับรู้สิ่งต่างๆของเรื่องนี้เป็นอะไรที่ไม่เกินความคาดหมายว่าจะมาประมาณไหน ซึ่งถ้ามองในแง่เซอร์ไพรส์ที่มีทั้งหมด 2 ชั้นด้วยกันแล้วนี่อาจจะต้องโทษที่การเล่าเรื่องยังไม่ดูน่าเสียถือพอที่จะให้ความเซอร์ไพรส์มีพลังให้จนน่าอึ้ง อันที่จริงการทำส่วนระทึกขวัญยังดูเข้าท่ามีอะไรให้ตื่นเต้นอยู่บ้างและพยายามเอาใจช่วยอยู่เสมอว่าสิ่งที่หายไปอยู่ที่ไหน ในทางกลับกันสิ่งที่หายไปอาจไม่ได้หายไปเลยแต่อาจเป็นเพียงการสมมุติจากจิตใต้สำนึกที่กำลังโศกเศร้าจากการสูญเสีย เมื่อรู้สึกตัวว่าสิ่งที่ตัวเองรักหายไปก็เกิดอาการโวยวายไม่พอใจว่าหายได้อย่างไร สิ่งที่หายไปในภาวะความเครียดไม่แตกต่างจากการเสพติดที่ขาดสิ่งนั้นจะรู้สึกหงุดหงิดและสะเทือนใจ


ไม่แตกต่างกับไคลี่ แพรตต์ (Jodie Foster) เดินทางกลับบ้านด้วยเครื่องบินจากเบอร์ลินไปอเมริกาพร้อมกับจูเลีย (Marlene Lawston) แต่เกิดระหว่างทางไคลี่ได้หลับไปและตื่นขึ้นมาอีกทีโดยไม่มีลูกสาวที่น่าจะนอนอยู่ข้างๆ จะถามใครก็ไม่มีใครเห็นลูกสาวของตัวเองว่าอยู่ที่ไหน การหายไปของจูเลียทำให้ไคลี่เริ่มไม่สบอารมณ์อย่างมากและพยายามตามหาโดยขอให้ทุกคนช่วยกันหาโดยได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่คาร์สัน (Peter Sarsgaard) ตำรวจอากาศที่แฝงตัวในกลุ่มผู้โดยสารเพื่อป้องกันเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นกับกัปตันริช (Sean Bean) ที่พยายามทุกวิถีทางตามหาทุกส่วนของเครื่องบิน แต่หาเท่าไรก็ไม่เจอแม้แต่วี่แววหรือหลักฐานยืนยันว่าจูเลียขึ้นเครื่องบิน แม้กระทั่งการตรวจดูบันทึกผู้โดยสารยังไม่ปรากฎว่าเธอพาลูกขึ้นมาด้วย แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้คืออะไรหรือไคลี่ประสาทหลอนตั้งแต่แรกเริ่ม

การจะมาเล่นมุขประสาทหลอนไปเองอาจจะคุ้นชินกันอยู่บ้างเพราะมีท่าทีจะมาทางนี้ในช่วงตอนเปิดเรื่องด้วยการให้ไคลี่มีปมในใจที่พึ่งเจอเรื่องโศกนาฏกรรมสูญเสียสามีที่รักด้วยอุบัติเหตุและพยายามจะสื่อด้วยการให้ไคลี่ยังอาลัยอาวรเห็นคนรักในชีวิตจริงทั้งที่ไม่มีอยู่แล้ว แม้จะเป็นฉากสั้นๆที่ไม่มีอะไรนอกจากบอกถึงปมในใจไคลี่ที่พึ่งเสียคนรักและอยู่ในช่วงทำใจแต่เป็นการยืนยันอย่างหนึ่งว่าบางทีการที่จะหลอนไปเองในภาวะซึมเศร้าไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ทว่าถ้าบอกว่าสามีที่เสียไปเกิดหายตัวยังพอเข้าใจได้ระดับนึงเพราะได้ตายจากไปแล้วและยังมีหลักฐานที่ติดมาด้วย ซึ่งก็คือร่างที่ไร้วิญญาณในโลงศพที่ขนมากับเครื่องบิน ทว่าคนที่หายคือจูเลียที่มีอายุเพียง 6 ขวบและไม่มีหลักฐานใดว่าอยู่บนเครื่องบินแม้กระทั่งตั๋วที่น่าจะเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญยังหายไป และในเวลาต่อมาการหาเด็กในเครื่องบินได้จบลงด้วยข่าวการตายของจูเลียทำให้ไคลี่สับสนว่าเรื่องที่ผ่านมามันคืออะไร เมื่อมาถึงจุดนี้ต้องยอมรับในการเล่าเรื่องที่เก็บรายละเอียดได้ดีเกี่ยวกับปมในใจตัวละครด้วยการดึงมาใช้อย่างมีประโยชน์ เดิมทีไคลี่เสียคนรักที่สุดไปแล้วและจะไม่ยอมให้เสียอีกเป็นอันขาดทำให้สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นคือความเป็นแม่ที่พยายามตามหาลูกอย่างสุดความสามารถพร้อมกับเชื่อมั่นว่ายังไงลูกต้องอยู่ในเครื่องบินลำนี้และไม่ได้ประสาทหลอนหรือคิดไปเองอย่างแน่นอน ฉะนั้นแล้วการเล่าเรื่องในส่วนลูกหายจึงค่อนข้างเข้มข้นและลุ้นว่าจะไปอยู่ส่วนไหนของเครื่องบิน ทั้งนี้สิ่งที่ทำให้ Flightplan มีปริศนาที่น่าฉงนใจคือการไม่มีหลักฐานใดๆเกี่ยวกับลูกหายเลย นั้นจึงเกิดข้อแตกแยกระหว่างควรจะเชื่อไคลี่ว่าลูกหายหรือสุดท้ายเรื่องลูกหายเป็นเพียงเรื่องแต่งของคนที่เสียคนรักจนไม่อาจยอมรับความจริง แล้วเรื่องไหนคือเรื่องจริงกันแน่


การตามหาลูกที่หายไปในช่วงแรกอาจไม่ถึงขั้นน่ากลัวอะไรเพราะอาจวิ่งซนไปที่อื่นก็ได้ ซึ่งยังไงต้องเจอไม่ชั้นใดก็ชั้นหนึ่งในเครื่องบินอยู่ดี กระนั้นการตามหาลูกที่เหมือนจะแค่เดินหาทั่วเครื่องบินดูจะยากเย็นเกินไปสำหรับผู้โดยสารคนเดียวที่ผิดขนาดกับเครื่องบินที่ใหญ่โต ทำให้ไคลี่กังวลใจจนต้องขอความช่วยเหลือจากแอร์โฮสเตส กระนั้นการขอความช่วยเหลือด้วยความร้อนรนนั้นผิดกับแอร์...ที่ใจเย็นช่วยตามหาดูจะไม่มีร่องรอยอะไรเลยสักอย่างเดียว ทำให้ไคลี่เริ่มกังวลหนักขึ้นมากและขอให้กัปตันออกมาจัดการช่วยตามหาลูก แม้การจะหาลูกที่หายไปจะไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรเพราะยังไงต้องอยู่ในบริเวณเฉพาะผู้โดยสารอยู่แล้ว แต่เกิดเป็นว่าไคลี่คิดไปลึกกว่านั้นเพราะอาจจะอยู่ห้องเครื่องหรือห้องเก็บวัสดุก็ได้ ทว่าไม่มีทางเลยที่เด็กตัวเล็กที่อยู่ในภาวะซึมเศร้าจะเที่ยวเล่นไปไกลได้ขนาดนั้นในมุมมองของกัปตันและพนักงานทุกคน แน่นอนว่าการช่วยเหลือเต็มไปด้วยความวุ่นวายที่ต้องหาเด็กกันทั่วเครื่องบินเนื่องจากหาเท่าไรก็ไม่เจอ แม้แต่ที่เฉพาะพนักงานให้เข้าก็ไม่เจออะไรเลยสักนิด ระหว่างตามหาลูกก็ยิ่งเพิ่มความตึงเครียดแก่ทุกคนโดยเฉพาะไคลี่ที่ร้อนรนอย่างหนักราวกับเป็นเจ้าของเครื่องบินลำนี้ ซึ่งไม่เว้นแม้แต่การมองผู้โดยสารคนอื่นว่าอาจเป็นคนลักพาตัวไปเนื่องจากคุ้นหน้าคุ้นตาคิดว่าเป็นคนข้างบ้านที่แอบมองมาที่หน้าต่างก่อนวันขึ้นเครื่อบิน ประเด็นคือตัวหนังต้องการเหมือนจะกัดจิกเรื่องชนชาติเพราะคนที่น่าสงสัยมีชนชาติจากอาหรับที่เมื่อมองย้อนกลับไปจะเห็นว่าส่วนใหญ่จะเป็นผู้ก่อการร้าย และอีกประเด็นคือการหยิบยกเหตุการณ์ 9/11 มาพูดถึงเกี่ยวกับการป้องกันเมื่อรู้ว่ามีสิ่งผิดปกติให้นำเรื่องลงจอดทันที กระนั้นดูเหมือนการหยิบประเด็นพวกนี้ดูจะบอบบางและวกวนยึดติดกับการหาลูกที่ไม่รู้หายไปได้ยังไงจนรู้สึกเนื้อหาสาระเป็นเพียงแค่คำพูดที่ตัวพูดมาลอยๆ


การเปิดตัวของเรื่องอาจทำให้ผู้ชมได้ครุ่นคิดอยู่ไม่มากก็น้อยแต่ท้ายที่สุดจุดเฉลยของเรื่องทำให้ไม่เกินคำว่าคาดหมายจนถึงขั้นเซอร์ไพรส์ แต่อีกอารมณ์หนึ่งยอมรับว่าการที่ตัวละครนั้นไม่เผยพิรุธแต่อย่างใดถือว่าแนบเนียนอยู่ไม่น้อยและสามารถควบคุมสถานการณ์จนไม่มีใครสังเกตได้แม้กับตัวผู้ชมเอง ซึ่งการทำได้แนบเนียนของเรื่องนี้เป็นดาบสองคมที่หาคำอธิบายในความเป็นไปได้ว่าจะไม่มีใครบนเครื่องบินจะไม่รู้หรือเห็นเลยสักคน ซึ่งถ้าคิดในแง่ความเป็นจริงโอกาสที่เด็กจะหายในเครื่องบินที่เป็นสถานที่ปิดยังไงต้องเจอไม่ช้าก็เร็ว แน่นอนว่าจุดแข็งของเรื่องนี้คือทำยังไงก็ได้ให้เด็กไม่มีตัวตนบนเครื่องบินโดยที่ผู้ชมได้เห็นนางเอกมาพร้อมกับลูกของตัวเอง การหายตัวของลูกทำให้ไคลี่กระวนกระวายและยิ่งร้อนรนยิ่งทำให้ตัวเองกลายเป็นจุดเด่นบนเครื่องบินทั้งเจ้าหน้าที่พนักงานและผู้โดยสารจนทั้งเครื่องเต็มไปด้วยความวุ่นวาย ตลอดการเล่าเรื่องการที่เห็นไคลี่พยายามตามหาลูกไม่ต่างกับทำให้ตัวละครนี้คือความตัวก่อปัญหาที่ยิ่งแก้ยิ่งแย่ขึ้นเรื่อยๆและกลายเป็นข้อสงสัยต่างๆนาๆว่าลูกที่หายไปคือเรื่องจริงหรือว่าคิดไปเอง แน่นอนว่าการเล่าเรื่องในตัวเครื่องบินอาจจะคับแคบไปบ้างเพราะไม่อาจเล่นอะไรได้มากแต่ก็พยายามโยนเรื่องราวให้ไปทางนู้นทางนี้บ้างเพื่อพยายามหาลูกให้เจอแม้บางครั้งจะดูไร้เหตุผลไม่ต่างกับกรณีเดียวกับการเหยียดเชื้อชาติเพราะมองเป็นกลุ่มคนหัวรุนแรง สำหรับไคลี่อาจจะนึกไปเองเพราะหวาดกลัว ทว่ากับผู้โดยสารคนอื่นจะคิดต่างออกไปและมองเป็นผู้ก่อการร้ายก็ได้ ซึ่งเป็นว่าจะทำให้มีกลุ่มคนที่แสดงอคติออกมาไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ แต่จะอะไรนั้นหนังก็หยิบมาเป็นประเด็นผ่านๆเสมอทำให้น้ำหนักการจะโยงเข้าหาบทสรุปจึงดูบอบบางเกินไป


Flightplan อาจมีความน่าสนใจในแง่พล็อตเรื่องที่อาจไม่อะไรนักแต่น่าติดตามตรงที่ลูกหายไปได้อย่างไรและทำไมจึงหายไปได้ โดยเนื้อเรื่องจะให้ติดตามไคลี่ร่วมค้นหาคำตอบที่หายไปในแบบไม่มีเบาะแสนอกจากการตื่นขึ้นมาแล้วลูกหายอย่างไร้ร่องรอยทั้งตั๋วขึ้นเครื่องหรือกระเป๋าที่บ่งบอกว่าขึ้นเครื่องมาจริง ในช่วงแรกนับว่าดูระทึกขวัญเล่นกับสัญชาตญาณของแม่ได้ดีแต่พอเอาเข้าจริงบางครั้งการกระทำดูจะไร้เหตุผลไปหน่อยและยิ่งมาถึงจุดเฉลยได้สร้างความไม่สมจริงเพราะเป็นไปได้แค่ไหนกันที่คนบนเครื่องบินจะไม่มีใครเคยเห็นลูกของไคลี่ กระนั้นอาจจะเป็นการกัดจิกสังคมอีกรอบด้วยการให้บอกว่าสังคมมักสนใจแต่เรื่องของตนเองโดยไม่ค่อยสนคนรอบข้างจะได้รับกระทบใดบ้าง ไม่แตกต่างกับไคลี่ที่หาลูกจนสร้างความวุ่นวายในเครื่องบินจนไม่ต่างกับคนบ้าที่เอาแต่เพ้อถึงลูกที่หายไปจนลืมผู้สารคนอื่นๆที่อาจถูกลูกหลงไปด้วย อีกแง่เกี่ยวกับสังคมคือเอาแต่ก้มหน้าไม่มีสัมพันธ์กับคนรอบข้างจนไม่รู้เรื่องรู้ราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเมื่อใครสรุปออกมาแบบไหนจะปักใจเชื่อตามโดยไม่รู้ว่าจริงแค่ไหนแบบที่ไคลี่คิดว่าคนนี้คือคนลักพาตัวลูกไปแล้วมีกลุ่มคนเชื่อตาม ถึงอย่างงั้นการพยายามหาลูกจะนำมาซึ่งความหน้าแตกมากแค่ไหนแต่ช่วงท้ายเรื่องคือทีเด็ดของคนเป็นแม่ที่เอาจริงจนกลายเป็นคนละคนกับช่วงแรกกับกลางเรื่องที่ลุยเดี่ยวไม่สนใครหน้าไหนในเครื่องบินเพื่อพิสูจน์ความจริง อาจจะสนุกบ้างน่าเบื่อบ้างในบางฉากแต่ก็นึกเสียดายคือท้ายเรื่องที่ยังไม่เซอร์ไพรส์มากพอ

ที่สำคัญเมื่อเฉลยแล้วกับกลายเป็นว่าทุกอย่างดูไร้เหตุผล โดยเฉพาะฝ่ายที่คุมเกมมาตลอดต้องมาเป็นมาอยู่เบื้องล่างอย่างง่ายๆทั้งที่มีการวางแผนกันมาอย่างถี่ถ้วน อารมณ์คงมีขัดกันบ้างตามความรู้สึกที่ยังไม่พีคพอจะไปสู่ไคลแม็กซ์ แต่ถ้าไม่หวังอะไรมากนักไม่น่าจะมีปัญหาเพราะยังมีความระทึกน่าติดตามอยู่เรื่อยๆ ทั้งนี้ทั้งนั้นจะดีกว่านี้ถ้าทำให้ออกมาสมจริงมีเหตุผลที่เข้าท่าซะหน่อยจะสนุกขึ้นมากทีเดียว

รูปภาพของฉัน
เกิดปี 2538 (1995) แค่คนที่เรียนจบสาธารณสุขศาสตร์ แต่ชอบดูหนังเป็นชีวิตจิตใจ ที่เขียนรีวิวเพราะอยากแบ่งปันความรู้สึกที่ตัวเองมีให้อ่าน และกำลังทำช่อง YouTube เกี่ยวกับหนังสือ(การ์ตูนเป็นหลัก)