Dog Day Afternoon (1975) ปล้นกลางแดด

Dog Day Afternoon (1975)
ปล้นกลางแดด
Director: Sidney Lumet
Genres: Biography / Crime / Drama / Thriller
Grade: A-

หนังตลกร้ายที่ขำได้ยากเมื่อสองโจรผู้ระแวงระวังกล้าๆกลัวๆกับการปล้นเงินธนาคารต้องผิดแผนแบบแก้ไม่หายทั้ง ซันนี่(Al Pacino) และแซล(John Cazale) ต้องผวาและอ่ำอึ้งสุดบรรยายด้วยความด้อยในประสบการณ์และแผนที่ตื้นติดดิน เมื่อตำรวจรู้ว่าพวกเขาได้ปล้นธนาคารจนเป็นเหตุให้ความซีเรียสทะลุปรอทอย่างซันนี่ต้องคิดแผนใหม่ในเวลาแบบกดดันสุดขีดกับตำรวจที่แห่กันมาล้อมรอบธนาคารปิดทางเข้าออกให้ได้แค่เจรจากันแบบสดๆต่อหน้า เวลาที่เครียดและเริ่มช่วงอากาศร้อนก็ยิ่งสร้างปัญหาหลายอย่างจนเป็นคนระแวงแบบตั้งตัวและหัวที่คิดแผนกลบความผิดก็ดูทะลุและแรงสำหรับพวกตำรวจแต่ได้เสียงเชียร์จากประชาชนรอบข้างที่ดูโจรปล้นธนาคารอย่างพวกเขา แล้วซันนี่และแซลจะทำอย่างไงกับสถานที่ปิดตายและปัญหาเล็กที่ใหญ่โตขึ้นมาได้


หนังหักมุมตั้งแต่เริ่มต้นการปล้นจนคิดอยู่ว่าความโชคร้ายมันไม่เข้าใครออกใครและเจ็บปวดทางจิตใจก็มากมายซะเหลือเกิน เป็นการดำเนินเรื่องแบบต่อเนื่องไม่ทิ้งห่วงเวลาให้ตัวละครได้พักกับเหตุการณ์จึงเป็นหนังที่ดูเครียดและมีชั้นเชิงในการแก้ปัญหาเบื้องต้นที่ถึงแม้ไม่ประสบความสำเร็จแต่ก็ได้ผลกับรอบข้างจนเป็นที่น่าพอใจและประทับใจกับการปล้นที่ดูผิดพลาดอย่างแรง ตลอดทั้งเรื่องเป็นเหตุการณ์ธนาคารทั้งตัวในและตัวนอกพากันสัมผัสแบบดิบด้วยเวลาที่ธรรมชาติของการปล้นที่แผนแตก โดยใช้การแสดงของ Al Pacino มาเป็นตัวหลักแสดงทั้งอารมณ์ การกระทำ ความคิด จนเป็นคนเดียวที่ดูจริงใจและวุ่นวายกับแผนที่จะเจรจากับตำรวจแบบเอาเป็นเอาตายเพื่อจะได้รอดตัวแบบสบายๆ

หนังเริ่มแสดงปัญหากับตัวละครตั้งแต่เริ่มการปล้นแต่ยังไม่ปล้น ทำให้เห็นได้ชัดว่าต่างยังไม่พร้อมและแผนก็ไม่ได้รอบคอบจนเป็นที่กังวลซึ่งนั้นก็จริงที่ว่าการปล้นเงินธนาคารที่มากมายดันเป็นว่าแทบไม่มีเงินเหลือมีเพียงแค่พันสองพันดอลล่าร์


Al Pacino เป็นนักแสดงตัวหลักของเรื่องและยอดเยี่ยมกับการแสดงที่สุดกดดันแบบสุดๆจนเป็นที่เชื่อมั่นในความสามารถ การรับแสดงในบทซันนี่ทำให้เพิ่มอรรถรสการเปิดตัวตนที่น่าชังในเวลาจนตรอกที่น่าเวทนา ถึงแม้ตัวหนังจะมีการถ่ายทอดว่าดูเป็นหนุ่มที่น่าสงสารแต่ก็ไม่พ้นเรื่องความจริงที่เกิดกับสังคมทั้งที่เกิดจากความเครียดและความต้องการจนไม่คำนึงถึงผลเสียเพราะคิดว่าเป็นผลดีกับตัวเองแต่ลืมผลลัพธ์ที่แตกต่างออกไป

John Cazale แสดงเป็นแซลได้แน่นิ่งเหมือนคนช็อคไม่คิดทำอะไรและกลัวจนสติผวาเพราะการปล้นที่คิดว่าผ่านฉลุยแต่ต้องมาติดตำรวจเป็นหมาจนตรอกที่ได้แต่ถกเถียงด้วยอุดมการณ์เป็นว่าเล่นเพราะแซนนี่ แต่ที่หนักใจและทราบถึงเหตุผลการปล้นคือสิ่งที่แซนนี่ทำซึ่งมันขัดกับที่คิดไว้ในช่วงแรกสำรับคนดู เนื่องจากตัวหนังไม่เปิดเผยถึงอะไรเลยอาจพาไปฉากอื่นบ้างแต่แค่ไม่กี่ฉากจนลืมเหตุการณ์ข้างนอกสนใจแต่ความวุ่นวายสงครามเย็นที่อยู่หน้าธนาคารและในธนาคาร


แซนนี่ได้เปิดเผยถึงชีวิตที่น่าบัดซบและความต้องการเงินเพื่อคนรักไปแปลงเพศ และนั้นเป็นดีกรีเพิ่มความเห็นอกเห็นใจกับการปล้นที่คนดูต้องมองใหม่กับโจรกระจอกที่ขาดความชำนาญไปจนเป็นขวัญใจกลุ่มรักร่วมเพศแต่การบอกเปิดเผยไม่ได้เป็นที่พอใจกับหลายคนทำให้ดูเป็นเรื่องไร้สาระด้วยเหตุผลง่ายๆและการขาดสติคิดรอบคอบเพียงเพราะความอยากของอารมณ์พันแปรจากประสบการณ์ร้ายๆที่เจอ ที่สังเกตได้คือการกระทำเกินกว่าของพวกสื่อมวลชนที่ใส่ข้อมูลดูเป็นว่าร้ายกับเจ้าตัวแบบไม่ตั้งใจและใส่ความเป็นลวงโลกที่ดูเป็นอารมณ์ที่แตกต่างระหว่างแซนนี่และแซลจนเหมือนอยู่คนละโลก แซลถ้าไม่ใช่เพราะกลัวจนสติเอาไม่อยู่คงเป็นตัวละครที่พอมีบทบาทอยู่บ้างในแบบของตัวเองไม่ใช่คล้ายของใช้ของแซนนี่หรือใครก็ตามที่สั่งก็เหมือนจะเชื่อซะตลอดเวลา

เนื้อเรื่องของหนังใส่กลิ่นอายความเป็นดราม่าและจะจบลงด้วยอาการเศร้าแต่เหตุการณ์ไม่ได้เรียบง่ายเหมือนปอกกล้วยแต่กลับใส่ความเข้มข้นแบบเหงื่อตกทั้งการค้นประวัติที่ดูจะทำร้ายจิตใจและส่งผลให้อาการแย่ขึ้นประดุจจี้โดนจุดแบบไม่ได้ตั้งใจ ทั้งตัวหนังดูแล้วเป็นอารมณ์ขบขันที่ร้ายกาจเอามากสำหรับเรื่องเครียดและไม่มีแก่นของเนื้อหาใดเลยนอกจากอย่าออกจากบ้านในที่อากาศร้อนและให้อยู่บ้านเปิดแอร์รับลมเย็น


หนังมีลูกเล่นทางจิตที่ป่วนคนดูแบบจะตลกดีหรือเครียดดีเพราะเป็นเรื่องที่ดูแล้วร้ายทั้งสองอารมณ์ แล้วหนังยังเผยธาตุของสังคมที่เป็นปัญหาทางสุขภาพจิตได้อย่างกระชั้นชิด แต่หนังยังเสนออารมณ์ที่ดูยาก ถึงไม่ซับซ้อนแต่รู้สึกถึงความอืดเพราะไม่มีการผ่อนคลายทั้งที่ยาวถึง 2 ชั่วโมง แต่กลับพาตึงเส้นตลอดและดูไม่มีความแปลกใหม่ในสายตาคนดูเพราะมุ้งเน้นแต่ที่เดิมๆจนอาจเบื่อได้ ถ้าไม่ใช่เรื่องบทช่วยเอาไว้คงเป็นหนังยาวที่น่าเบื่อและซ้ำซากกับมุมกล้องเดิมที่แคบและรัดกุม

หนังเรื่อง Dog Day Afternoon ดัดแปลงมาจากบทความที่ใช้ชื่อว่า ‘The Boys in the Bank’ ตีพิมพ์ในนิตยสารไลฟ์ ฉบับเดือนกันยายน ปี 1972 ซึ่งรายงานเบื้องหน้าเบื้องหลังของเหตุการณ์การปล้นแบงก์เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ปีเดียวกัน หรือวันที่มีอากาศร้อนที่สุดวันหนึ่ง

รูปภาพของฉัน
เกิดปี 2538 (1995) แค่คนที่เรียนจบสาธารณสุขศาสตร์ แต่ชอบดูหนังเป็นชีวิตจิตใจ ที่เขียนรีวิวเพราะอยากแบ่งปันความรู้สึกที่ตัวเองมีให้อ่าน และกำลังทำช่อง YouTube เกี่ยวกับหนังสือ(การ์ตูนเป็นหลัก)