After.Life (2009) เหมือนตายแต่ไม่ตาย

After.Life (2009) 
เหมือนตายแต่ไม่ตาย
Director: Agnieszka Wojtowicz-Vosloo
Genres: Drama | Mystery | Thriller
Grade: C+

หลายคนเคยสงสัยคนเราทำไมถึงตาย หลังชมเรื่องนี้อาจพอเป็นแนวทางที่ดีได้ถ้าคุณมองว่าเวลาเป็นเรื่องสำคัญ ลองคิดสิว่าอยากจะทำอะไรในตอนที่ยังมีโอกาส เมื่อหนังดำเนินเรื่องก็คล้ายหนังรักทั่วๆไปที่กล่าวถึงปัญหาของชีวิตคู่ที่เริ่มบานปลายจากความรักที่แสนปรารถนากลายเป็นความเคยชินที่เมินเฉยและปล่อยว่าง

จากต้นเรื่องที่ยกปัญหาเรื่องบนเตียงที่ไม่มีความรู้สึกที่น่าลุ่มหลงอีกต่อไปและกับคนที่ดูมีปัญหาคือแอนนาที่เหมือนชีวิตจะมาถึงจุดหมดไฟหรือไม่มีความน่าตื่นเต้นที่ต้องใช้ชีวิตเป็นครูสอนนักเรียนตามปกติเช่นเคย ซึ่งบรรยากาศหนังฟ้องชัดเจนถึงความน่าเบื่อที่เริ่มหน่ายกับชีวิตประจำวันที่ขาดแคลนบางสิ่งบางอย่างไป ที่ตัวหนังยังไม่บอกเพราะวัตถุประสงค์ของเรื่องราวที่จะรู้ภายหลังความตาย โดยเริ่มจากความไม่สำเร็จของชีวิตที่ไม่สมหวัง ตอนแรกการไปเยี่ยมในงานศพของญาติตัวเองดูมีแรงจูงใจบางอย่างให้เกิดขึ้นแบบมีผลต่อเนื่องจนกลายเป็นศพซะเองในภายหลังจากเหตุรถชนอยู่บนเตียงในห้องดับจิต เมื่อรู้ว่าตัวเองยังขยับได้และหายใจเหมือนคนปกติ ความคิดของคนยังไม่ตายจึงเริ่มทำในสิ่งที่เหมือนกันหมดทุกคนคือบอกกับนายสัปเหร่อว่าตัวเองยังไม่ตาย "ดูสิฉันยังเหมือนคนปกติเลย"

แอนนา(Christina Ricci)ใช้ชีวิตเช่นอย่างทุกวันกับทุกคนที่รู้จักอย่างเคยที่เป็นแบบนั้นทุกวัน กับการเป็นครูสอนหนังสือยิ่งตรากตรำคล้ายอ่านตำราเล่มเดิมมาสอนนักเรียนที่ต้องซ้ำทุกปีกับเรื่องเดิมๆ แม้แต่ความรักยังเป็นเรื่องที่ตัวเองยังไม่แน่ใจกับความรักและเลือกปล่อยว่างกับคำว่าเฉยๆ กับแฟนตัวเองที่หมั้นอย่างไม่เป็นทางการพอล(Justin Long)ยิ่งแสดงถึงความเบื่อหน่าย แต่อีกแง่หนึ่งคนที่ไม่เคยจะปริปากบอกรักตรงๆอย่างแอนนายังหวาดหวั่นที่แสดงออกมา จนกระทั้งแอนนาพบว่าตัวเองตื่นขึ้นมาที่แห่งหนึ่งอย่างไม่รู้ว่ามาที่นี้ได้ยังไงแล้วไปพบใครบางคนที่ไม่รู้มาร้ายหรือดีก่อนจะบอกว่าเธอตายแล้ว แอนนาจะเชื่อถือคำพูดของชายคนนั้นได้แค่ไหนกับการอ้างว่าตัวเองมีพรสวรรค์คุยกับคนตาย เมื่อตัวเองยังสามารถทำได้ทุกอย่างเหมือนตอนมีชีวิตบางทีแอนนาต้องหนีออกจากที่นี้หรือเข้าใจว่าตัวเองตายไปแล้วจริงๆตามคำเชื่อของนายสัปเหร่อเอลเลียต(Liam Neeson)


การดำเนินเนื้อเรื่องเป็นไปตามคาดหมายหรือเปล่าอันนี้ต้องตอบว่าไม่เลย ก่อนจะชมเรื่องนี้คิดอยู่ว่าอาจเป็นหนังปนสยองระทึกขวัญ วึ่งเอาจริงๆแล้วความสยองอย่างว่าต้องถูกตัดออกไปเป็นหนังชีวิตดราม่าเสียมากกว่า ถึงจะมีความเสียวอยู่บางฉากแต่ก็ไม่ระบุได้เต็มที่หรอกว่าจะดูน่ากลัวแต่กลับดูมีพลังตามฉากต่างๆที่เข้ากับโทนได้ดี แม้ความสยองจะเลือนลางหายไปไม่ได้ว่าจะไม่เข้าข่ายหนังประเภทสยองขวัญเพราะความน่ากลัวของเรื่องคือความน่ากลัวของตัวละครที่ผวากับการเห็นและรู้สึกได้ถึงชีวิตหลังความตาย และแอนนาคือเหยื่อรายนั้นที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าตัวเองได้ตายไปแล้วโดยที่ยังกลัวในสิ่งที่ตัวเองยังไม่ได้ทำให้สำเร็จ การเลือก Christina Ricci มาแสดงเป็นตัวละครทั้งเป็นทั้งตายชวนให้รู้สึกถึงอารมณ์ที่เริ่มทดถอยชัดเจนจนความมีชีวิตชีวาค่อยๆเหือดแห้งที่สังเกตได้จากอาการของแอนนาที่ร่างกายเริ่มเพลียจนหน้าซีดขาว ซึ่งในจุดนี้ตั้งแต่ต้นจนจบการเก็บอาการร่วมกับการแสดงที่เผยอารมณ์มาเป็นขั้นๆแสดงได้ละเอียดอ่อน กับในเรื่องในห้องดับจิตช่วงแรกของแอนนาการตื่นขึ้นมาในสภาพชุดสีแดงสีฉุดฉาด อันเนื่องจากโทนของหนังเรื่องที่ตั้งใจทำสภาพให้ขุ่นเคือง บางทีมีสว่างมากเหมือนเรื่องในจิตใจที่ปล่อยว่างหรือจะความไม่เป็นจริงที่เกิดขึ้น การที่ต้องเลือกสีแดงเป็นจุดเด่นของเสื้อผ้าแอนนาแล้วอาจเป็นเพราะต้องการให้ในเรื่องออกมาเด่นยิ่งขึ้น กลายเป็นที่น่าจับตามองทั้งที่สะดุดกับความเข้มของสี สีแดงหมายถึงเลือดเนื้อที่ยังใช้งานได้ นี้อาจเป็นความหมายอีกอย่างของเนื้อเรื่องที่แอนนาต้องสวมชุดแบบนั้นและคอยวันที่เธอจะละถอดออกจากเครื่องนุ่งห่มเพื่องานของเธอเองที่กำลังถึงในเร็วๆนี้


คนรักหรือคู่ชีวิตจำต้องมีความรู้สึกที่เสียใจอยู่ลึกๆถ้าคนรักกลับมาเช่นอย่างเคยไม่ได้ พอลเป็นตัวละครที่ตั้งเป้าหมายของอารมณ์หดหู่ของการพยายามรื้อฟื้นอยากไปหาสิ่งที่มีอยู่ก่อนนั้นคือแอนนา เมื่อทราบข่าวการเสียชีวิตของคนรักอาการเสียใจที่ไม่ยอมรับความจริงย่อมต้องแสดงออกมา การเลือกนักแสดง Justin Long มาเล่นตอนแรกคิดว่าไม่ตรงคาแรกเตอร์ตามที่ต้องการชวนผิดแปลกเล็กน้อยที่ต้องจับคู่เป็นคนรักกับ Christina Ricci ในเรื่อง ทว่าการแสดงนั้นยังไม่ยึดนำเท่าไหร่กับอารมณ์ชวนเศร้า จนเริ่มๆเรื่องถึงมีท่าทีที่น่าสนใจหลายอย่างที่มีบทบาทมากขึ้น

พอลมีฐานะการทำงานที่ดีจนอยากชวนแอนนาไปอยู่ด้วยกันที่ดีกว่านี้เพื่อการงานที่สะดวกยิ่งขึ้นและชีวิตที่พัฒนามากขึ้นในฐานะคู่ชีวิต แต่การที่แอนนาเองเป็นคนใจร้อนพร้อมกับเข้าใจในบางเรื่องได้ยากจึงทำให้การชวนของพอลที่ยังไม่บอกเต็มประโยคต้องเปลี่ยนไป คิดว่าพอลจะทิ้งแอนนาไปกับชีวิตงานของตัวเองคนเดียว จึงเกิดการทะเลาะที่พอลไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้นแม้แต่น้อยแถมกลายเป็นสถานการณ์พลิกกลับไปอีกเรื่องเกิดความขัดแย้งเพียงชั่วข้ามคืน พอได้สักระยะหนึ่งพอลไปตามคืนดีแต่แอนนากลับนั่งรถหนีไปจนเกิดอุบัติเหตุขึ้น ฉากสุดท้ายที่พอลเห็นตอนแอนนามีชีวิตเป็นๆคือตอนไปขอคืนดีที่ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้อีกแล้ว


คุณค่าของเวลาต้องได้มาพร้อมกับการเข้าใจซึ่งกันและกันที่เหมาะเจาะและเหมาะสมจึงบังเกิดความแน่นอน ถ้าไม่ใช่แอนนาที่สรุปไปเองคงไม่ใจร้อนเสียขนาดนั้นซ้ำสมควรดีใจอีกต่างหาก แต่ก็สายเกินไปเมื่อรู้ว่าตัวเองตายแล้วจากการคำบอกของนายสัปเหร่อที่กำลังตั้งใจทำศพให้ออกมาดูดีครั้งยังมีชีวิตอยู่ การที่ตัวเองไปโผล่ในห้องดับจิตไม่ใช่ว่าจะรู้ว่าตัวเองตายแล้วไม่เช่นนั้นแอนนาจะคิดไม่ตกได้ยังไง การนำเสนอของเรื่องจะถ่ายทอดตัวแอนนาเป็นหลักอันดับแรกเพื่อแสดงให้เข้าใจชีวิตหลังความตายที่กำลังอยู่ในห้องดับจิตกับคนที่ไม่เคยรู้จักที่คุยกับเธอได้เพียงเพราะพรสวรรค์ที่เจ้าตัวมองว่าเป็นคำสาป ความหดหู่ชีวิตที่แสนระดมไปด้วยทุกข์กับความกังวลใจที่เลือกว่าไม่พร้อมมาตลอดคือความรักจริงที่แอนนาต้องการ ทุกครั้งพอลถามว่ารักไหม แอนนามักจะเลี่ยงที่ตอบว่ารักเพราะอุดมคติที่คิดไว้ในอดีตที่ไม่อยากเจ็บปวดเรื่องความรักที่กลัวไม่ยั่งยืน ทำให้เธอมีจิตใจที่หวั่นไหวต่อเรื่องที่แน่นอนอย่างสูงว่ามันจะไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป จึงไม่แปลกถ้ารอยยิ้มของแอนนาจะไม่มีเลยในเรื่อง เมื่อนับวันงานศพของตัวเองยิ่งใกล้เข้ามาสิ่งเดียวที่นายสัปเหร่อต้องทำคือการรักษาศพให้ดูเป็นอย่างเคยมากที่สุด ระหว่างนั้นยังให้โอกาสทำใจกับแอนนาด้วยว่าเมื่อไรจะพร้อมที่จะรับความจริงและสงบลง

การได้ Liam Neeson เป็นสัปเหร่อคงแปลกตาไม่น้อยเพราะปกติถ้าไม่แอ็คชั่นก็คงมีดราม่าโรแมนติกกันบ้าง ซึ่งกับบุคลิกแล้วค่อนข้างดูไม่ชินใจเท่าไหร่ จนเมื่อเห็นการแสดงเข้าแล้วถึงรู้ว่าเป็นได้เข้ากับบทจนมีแววว่าน่ากลัวลึกๆ กับมาดนิ่งมาเงียบๆที่มีอะไรเก็บซ่อนอยู่หลายอย่างแต่ไม่ปล่อยออกมายิ่งแสดงให้ชัดถึงระดับความสามารถที่มีอยู่ ในเนื้อเรื่องจะเห็น Liam Neeson ตั้งแต่ต้นๆเรื่องที่ต้องเฝ้าดูแลศพในงานที่ปรากฏออกมาตามระเบียบงาน ซึ่งการผูกเรื่องใหเชื่อมโยงเข้าหากันได้เป็นไปอย่างเรียบง่ายรู้ว่าต้องเจอกันแน่ ทำให้อดเซอร์ไพร์สว่าควรจะเป็นใครที่มาเล่นดี ในเรื่องเราจะเห็นอารมณ์ตายตัวที่ชัดเจนของสัปเหร่อที่ใจเย็นอย่างลุ่มลึก และด้วยการนี้เองที่หนังจะถูกแยกเป็นสองทางได้ง่ายว่าตกลงเจ้าสัปเหร่อนี่เป็นฆาตรโรคจิตหรือมีพรสวรรค์กันแน่ ถ้าคิดว่าเป็นเรื่องของพรสวรรค์คุยกับศพได้ก็อาจจะจริงอย่างว่าก็ถูกไม่งั้นจะแสดงหลักฐานยืนยันได้ไงว่าคนนี้ตายจริง ซ้ำยังหลายคนอยู่ก่อนแล้วที่ปลักลงปลงใจว่าแอนนาตายจริงๆทำให้แอนนาในห้องดับจิตจะไม่ให้คิดแบบนั้นได้ไง แต่อีกแง่ที่มองว่าเป็นโรคจิตก็ให้เค้าว่าเป็นไปได้สูงอีกทาง เนื่องจากตัวหนังเองแสดงกิริยาตัวละครแปลกๆออกมาซึ่งจะสังเกตเห็นได้จากตัวแอนนาเอง อย่างตอนหายใจที่มีไอออกมาใส่หน้ากระจก ถ้าเป็นศพจริงคงไม่สามารถทำแบบนั้นได้แน่ แต่อีกประเด็นคือสภาพซีดตัวขาวของแอนนาเองที่คล้ายศพเดินได้ที่ตรงจุดนี้ยังขยายไปอีกว่าแอนนาไม่รู้สึกอะไรเลย ทั้งความเจ็บปวดตอนเย็บแผลบนหน้าผากหรือหายใจที่สัมผัสแทบไม่ได้ของการเต้นหรือจะร่างกายที่เรี่ยวแรงไม่ค่อยมีอย่างเคย ประเด็นต่อยอดไปได้ในทางเป็นไปได้ที่ว่าคือการให้ยาชนิดหนึ่งที่ส่งผลให้ผู้รับมีสภาพคล้ายคนตายหัวใจจะเต้นจนสัมผัสแทบไม่ได้ ซึ่งมันก็มีอยู่จริงในวงการแพทย์แล้วกับสัปเหร่อจะมีอยู่หรือเปล่า อันนี้เป็นปริศนาที่น่าเก็บไปคิดและสงสัย สรุปแล้วว่าแอนนาตายหรือถูกทำให้ตายกันแน่


ความเรียบง่ายของหนังบั่นทอนไปมากกับฉากต่างๆที่ไม่ระทึกขวัญแม้จะใส่กันมาให้ตกใจเล่นๆบางฉากแต่มันก็เรียบอยู่ การใช้นักแสดงก็ไม่มากเอาตัวหลักมาเล่นเป็นส่วนใหญ่ความผูกพันใกล้ชิดตัวละครจึงมีมาก โทนและบรรยากาศทำได้ดีโดยเฉพาะในห้องดับจิตที่เงียบและวังเวง

After.Life มีรูปแบบการนำเสนอชีวิตของคนที่น่าสนใจที่แอบกัดจิกเสียดสีเรื่องสังคมโดยเสนอออกมาทั้งคนเป็นและตาย ไม่ว่าจะเป็นความรักที่ไม่ยอมรับเพราะกลัวจะสูญเสียแต่ก็สายไปเกินแก้ไขได้ หรือจะการหนีไปอยู่กับคนรักที่ครอบครัวไม่ยินยอมพร้อมรับ บางทีถ้าหนังใส่พลังลงไปคงได้อารมณ์กับตัวเรื่องได้ดี ถ้าไม่จัดว่าเป็นหนังสยองขวัญบางทีการกลับไปเขียนบทใหม่ให้ดราม่าเต็มสูตรคงช่วยยกระดับเนื้อเรื่องที่น่ามีพลังและภาคภูมิใจกับชีวิตหลังความตายได้เต็มเปี่ยม เมื่อการเลือกสายสยองขวัญจึงมีแต่เรื่องที่ไม่มีตามสายเพราะความราบเรียบอย่างว่าที่แสนธรรมดาแต่ได้บรรยากาศช่วยเอาไว้ สำหรับการดำเนินเรื่องออกจะไปเรื่อยๆไม่รีบไม่รัดรวบตั้งใจเก็บอารมณ์ไปตลอดทางและพัฒนาตัวละครอื่นให้มีบทบาท สุดท้ายนี้ถ้าไม่ใช่นักแสดงกับทักษะเรื่องมุมมองแล้วความน่าเบื่อคงเกิดได้แน่นอน ยิ่งกับคนที่ไม่ชอบอะไรช้าๆด้วยแล้วอาจไม่ประทับใจเท่าไหร่ แต่หนังมาดีในตอนท้ายที่รุกหน้าได้เร็วและต่อเนื่องจนเชื่อว่าแอนนานั้นตายจริงก่อนจะมีอะไรสะดุดใจว่าตกลงแอนนาตายจริงหรือเปล่า และอีกอย่างคือข้อคิดที่ดีกับชีวิตที่จะมุ่งกับชีวิตของคนได้ทุกคนกับคำถามที่ว่า"ทำตอนที่ยังมีโอกาส"


รูปภาพของฉัน
เกิดปี 2538 (1995) แค่คนที่เรียนจบสาธารณสุขศาสตร์ แต่ชอบดูหนังเป็นชีวิตจิตใจ ที่เขียนรีวิวเพราะอยากแบ่งปันความรู้สึกที่ตัวเองมีให้อ่าน และกำลังทำช่อง YouTube เกี่ยวกับหนังสือ(การ์ตูนเป็นหลัก)