Pulp Fiction (1994) เขย่าชีพจรเกินเดือด

Pulp Fiction (1994)
เขย่าชีพจรเกินเดือด
Director: Quentin Tarantino
Genres: Crime | Drama

Pulp Fiction เป็นหนังที่ได้รับคำวิจารณ์ในทางบวกอย่างสูง เนื่องจากมีวิธีการดำเสนอเรื่องราวที่ธรรมดาไม่ให้ธรรมดาได้ด้วยวิธีการดำเนินเนื้อเรื่องไม่ให้ผู้ชมเดาทางตัวหนังได้ถูก โดยไม่มีการหักมุมใดๆทั้งสิ้นเล่าเรื่องอย่างตรงตัว มีเหตุผลและระเบียบแบบเส้นตรง ทว่ามีอยู่อย่างหนึ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้น่าสนใจคือลำดับเหตุการณ์ที่ไม่นับหนึ่งสองสาม แต่เป็นสามหนึ่งสองหรืออีกนัยหนึ่งคือไม่จัดลำดับโครงเรื่องตามเวลาจริงเพียงแค่เล่าเรื่องตามเหตุการณ์แบบเจาะจงไม่เบี่ยงเบนไปทิศทางอื่น ซึ่งเมื่อรู้ตัวอีกทีตอนหลังหนังจบจะพบว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเรื่องราวจริงๆแค่สลับลำดับวันเวลาเท่านั้น ซึ่งนั้นไม่ใช่การหักมุมแต่เป็นการเล่าเรื่องแบบใหม่ที่ไม่จำเจและชวนน่าสงสัยถึงเรื่องราวก่อนและหลังว่ามีที่มายังไงกันแน่ ซึ่งบางทีถ้าลองสังเกตจะต้องประหลาดใจกับองค์ประกอบที่ได้เจอกับตัวหนังที่แนบเนียน


ว่าด้วยความบังเอิญของหลายเหตุการณ์ริ่มต้นจากมือปืนทั้งสองวินเซนต์ เวก้า(John Travolta)และจูลส์ วินฟิลด์(Samuel L. Jackson)ที่กำลังทำงานสำคัญบางอย่างให้กับเจ้าพ่อนามว่ามาร์เซลลัส วอลเลซ(Ving Rhames) ต่อมามาร์เซลลัส วอลเลซต้องออกไปนอกเมืองแล้วมอบหมายให้วินเซนต์รับหน้าที่พาเมีย วอลเลซ(Uma Thurman)ภรรยาของเจ้านายออกไปท่องราตรีที่ซึ่งความผิดพลาดอย่างมหันต์มาเยือนแบบไม่ทันตั้งตัวมาก่อน หลังจากนั้นบุตซ์ คูลลิดจ์(Bruce Willis)ได้ผิดสัญญาเรื่องมวยกับมาร์เซลลัส วอลเลซทำให้ต้องหลบหนีก่อนจะมาเจอด้วยกันแบบบังเอิญทำให้เรื่องวุ่นวายได้เริ่มขึ้น ก่อนหน้านี้ที่ร้านอาหารมีการปล้นเกิดขึ้นระหว่างพัมพ์คิน(Tim Roth)กับฮันนี บันนี(Amanda Plummer)ที่สุดท้ายทุกอย่างลงเอยแบบไม่พลิกแพลงเป็นหลังมือ

ถ้าเอ่ยถึงชื่อนักแสดงของหนังเรื่องนี้เรียกว่าในตอนนี้เรารู้จักพวกเขาในฐานะซูเปอร์สตาร์ที่โด่งดังจากหลายๆเรื่อง แต่เมื่อครั้งยังใหม่ๆกับหนังเรื่องนี้ยังคงเป็นเพียงดาราระดับโนเนมที่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักไม่ว่าจะเป็น John Travolta,Samuel L. Jackson,Uma Thurman ซึ่งจากการรับบทนำในครั้งนี้เองที่ทำให้ทั้งหมดเหมือนได้เกิดอย่างเต็มตัว และทั้งสามก็มีชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในคราวนั้นด้วย เท่ากับว่างานฝีมือการแสดงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าระดับแนวหน้าอย่างแน่นอน และทั้งนี้เองต้องปรบมือให้กับผู้กำกับ Quentin Tarantino ที่ทำให้หนังฟอร์มเล็กๆเรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างล้นเหลือแถมเจ้าตัวเองยังรวมเล่นในหนังเรื่องนี้อีกด้วย แต่ที่แน่นอนคือไม่ใช่แค่เสียงวิจารณ์ที่ดีต่อนักวิจารณ์หรือผู้ชมเท่านั้นยังรวมถึงรายได้ทั่วโลก 213 ล้านเหรียญทั้งที่มีการลงทุนไปเพียงแค่ 8 ล้านเหรียญ เป็นการันตีได้อีกอย่างหนึ่งว่าหนังดีๆไม่จำเป็นต้องมากด้วยการลงทุน ถ้ามีอะไรใหม่ๆและตีโจทย์แตกได้จะได้คำตอบที่งดงาม


ขึ้นชื่อว่าคว้ารางวัลออสการ์สาขาบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยมในปี 1994 ซึ่งนั้นไม่ใช่เพราะเขียนอย่างดีเยี่ยมแตาเป็นความแปลกแนวจนได้ดีและแฝงคุณภาพอันเป็นปมประเด็นที่เข้มข้น แม้เรื่องราวตามตรงจะไม่มีอะไรน่าสนใจหรือความมันส์ในตัวเพราะตอบโจทย์คอแอ็คชั่นไม่ได้เลยว่าสนุกตรงไหน เพราะฉากยิงมีจนนับได้ว่าไม่เกินห้าฉากแน่นอน หน้ำซ้ำยังรู้สึกไม่มีอะไรน่าสนุกเนื่องด้วยตลอดทั้งเรื่องเต็มไปด้วยบทสนทนาระหว่างกันที่มากจนเมื่อไรมีช่องว่างจะเรื่องคุยกันตลอดอย่างเป็นเรื่องเป็นราวทั้งไร้สาระและแฝงสาระเป็นนัยๆ ด้วยเสน่ห์อย่างหนึ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้มีมนต์อันต้องหลงใหลคือความไม่เป็นไปตามธรรมเนียมของฮอลลีวูดที่ต้องมีพล็อตเรื่องที่สามารถทำให้เข้าใจได้ง่ายไม่เป็นหนังนอกกระแสที่ต้องใช้วิจารณญาณในการรับชม ด้วยเหตุนี้เองบทสนทนาคือของเด็ดที่ Quentin Tarantino ต้องการให้ผู้ชมรับฟังซึ่งถ้าลองฟังแบบไม่คิดมากจะเป็นเหมือนการรับฟังมุขตลกจากกล่องของขวัญที่ห่อไว้หลายชั้น กว่าจะรู้ของขวัญชิ้นที่อยู่ข้างในเราก็อดปลื้มไม่ได้ว่านี่มันสุดยอดแห่งความเพลิดเพลินใจ อย่างที่รู้คือพล็อตเรื่องที่แสนเดาได้ แต่เดี๋ยวก่อนนั้นแค่พล็อตยังไม่เห็นเนื้อในและจะบอกว่าเนื้อในแข็งยิ่งกว่าเปลือก และกวนแบบไม่ประสาทเสียแค่ฮาแบบมีอรรถรส

เปิดตัวของเรื่องราวด้วยบทสนทนาของชายหญิงคู่หนึ่งระหว่างพัมพ์คินกับฮันนี บันนีในร้านอาหารแห่งหนึ่งที่พูดคุยกันอย่างสบายฉันท์แฟนแบบบ้านๆที่สื่อถึงบางสิ่งที่แม้แต่คนทั่วไปยังคิดว่าเป็นแค่โจ๊กตลกฝืดมุขหนึ่งที่กล่าวถึงการปล้นอย่างมีแบบแผนจากประสบการณ์ความรู้ของตน ที่จะทำการซักแห่งหนึ่งซึ่งเป็นภายในร้านอาหารนั้นเอง ด้วยสายตาบางอย่างบอกได้ถึงเรื่องผิดปกติที่ผ่านบทสนทนาอย่างมีกฏเกณฑ์การวิเคราะห์ผ่านการปล้นที่ทั้งสองถกกันว่าจะเอาเงินจากที่ไหนที่มีการเสี่ยงน้อยสุดก่อนจะลงความเห็นว่าควรเป็นร้านอาหาร ซึ่งความเห็นแรกเริ่มจากธนาคารที่ไม่ว่ายังไงการปล้นธนาคารพวกเขาคงไม่สนใจอะไรอันเนื่องจากประกันที่ต้องมีกันอยู่แล้วขนาดที่ว่าไม่ต้องใช้ปืนด้วยซ้ำ จากนั้นพัมพ์คินพูดต่อว่า"เคยมีคนหนึ่งส่งมือถือให้กับพนักงานแล้วคนในสายบอกว่าจับลูกสาวเอาไว้ให้ส่งเงินมาไม่งั้นลูกสาวแกตาย" ฮันนี บันนีถามต่อด้วยความสงสัยว่า"ได้ผลไหม" พัมพ์คินตอบว่า"ได้ผลสิ ไอ้นั้นเดินแค่เดินเข้าแบงค์พร้อมกับมือถือ ไม่มีปืนไม่มีอาวุธ มีแค่โทรศัพท์เครื่องเดียว มันปล้นแบงค์ได้โดยที่ไม่เหน็ดเหนื่อยเลย"
 

ฮันนี บันนีสงสัยต่อเรื่องเด็ก"เขาทำร้ายเด็กนั้นไหม" พัมพ์คินตอบ"ไม่รู้มันอาจไม่ได้จับเด็กด้วยซ้ำ แต่นั้นไม่ใช่ประเด็นหรอก ประเด็นก็คือมันปล้นแบงค์ด้วยมือถือ" จากบนสนทนาข้างต้นทำให้ฮันนี บันนีรู้สึกถามพัมพ์คิน"อยากปล้นแบงค์เหรอ" พัมพ์คินปฏิเสธ"ไม่ได้อยากบอกว่าอยากปล้นแบงค์ แค่บอกถ้าทำมันคงจะง่ายกว่า" เพียงแค่เปิดเรื่องก็ทราบถึงวิธีการบางอย่างที่รู้ๆกันอยู่แต่ถูกเอามาถกเถียงถึงประเด็นต่างๆกับการปล้นที่ง่ายไปหรือซับซ้อนต่อความเสี่ยงเกินไป โดยพัมพ์คินตั้งใจพูดขึ้นมาให้น่าสนใจหรือมีแรงจูงใจบางอย่างที่คิดจะปล้นด้วยความต้องการแสดงออกทางอารมณ์ถึงผู้ช่วย ซึ่งฮันนี บันนีเริ่มสนใจกับการปล้นจนถามว่าอยากปล้นเหรอ และผลที่ได้คือการปล้นจริงๆจังๆที่มากับเสียงตะโกนดังจากโต๊ะหนึ่งที่บอกกับทุกคน"นี่คือการปล้น"

หลังจากที่โยเลนด้าและริงโก้ลุกจากโซฟาพร้อมกับปืนที่ติดตัว แสดงให้เห็นแล้วว่าทั้งคู่อันตรายมากแค่ไหนทั้งที่ผิวเผินไม่น่าจะมีอะไรขัดใจ เมื่อการปล้นเริ่มขึ้นทุกอย่างจะหยุดสต๊อปเพียงแค่นี้สำหรับฉากเปิดที่กำลังเข้าด้ายเข้าเข็มด้วยดนตรีประกอบสไตล์หนังคาวบอยที่ฟังติดจนคุ้นหูในเวลาต่อมาที่เสนอชื่อหนังตัวหนังสือเหลืองเด่นชัดบ่งบอกถึงยุคสมัยที่อันที่จริงถือเป็นจุดดึงดูดอย่างหนึ่งของผู้กำกับ จบการเสนอเครดิตตอนต้นรายละเอียดที่รู้อย่างหนึ่งกับเนื้อเรื่องคือการนำเสนอเหตุการณ์โดยหลักสี่เหตุการณ์ คือ วินเซนต์ เวก้ากับจูลส์ วินฟิลด์,สถานการณ์ของวินเซนต์กับภรรยามาร์เซลลัส วอลเลซ,ร้านอาหาร และเรื่องราวของบุตช์ คูลลิดจ์ ที่ไม่เรียงไม่เจาะจงไม่บังคับปล่อยไปตามอิสระว่าเอาไหนมาก่อนก็ได้เพราะถึงยังไงสุดท้ายทุกอย่างจะเข้ารูปแบบของมันเอง
 

ความเจ๋งที่บทหนัง Pulp Fiction มีคืออารมณ์สุนทรียด้านอารมณ์ที่เต็มไปด้วยธรรมชาติไม่มีอะไรที่แปลกจนเว่อร์เว้นแต่ว่ามีอะไรมาเซอร์ไพรส์ และอีกแน่นอนว่าต้องให้เยอะมากๆทั้ง ความโกรธที่ดุดัน ความดุร้ายน่ากลัว ความเกลียดชังที่ฆ่ากัน ความกลัวที่ผวา ความกล้าที่เลือกเผชิญ ความขบขันสนุกสนานที่ปนกับเหตุการณ์ และสุดท้ายความอัศจรรย์ใจที่เกิดขึ้นกับวินเซนต์และจูลส์ สำหรับทุกอารมณ์ล้วนมีนัยยะที่น่าสนใจที่สามารถเข้าถึงให้ตัวละครมีมิติที่ไม่จำเจว่าต้องมีบุคลิกที่โดดมาคนเดี่ยวแต่รวมให้ตัวละครรอบข้างมีเอี่ยวในการสร้างลักษณะให้คุ้นเคยและลิ้มรสชาติของนิสัยตัวละครว่าเป็นแบบไหนอย่างสนิทสนม โดยเฉพาะการวางมาดแต่ละตัวละครจะเพิ่มเอกลักษณ์ได้น่าจดจำอย่างเช่นจูลส์มีอาชีพรับจ้างเป็นนักฆ่าแต่พูดเรื่องไบเบิ้ลซะมากจนเหมือนเป็นพวกก่อกวนทางคำพูดที่อ้างพระเยซูเป็นหลัก แต่อันจริงเปล่าเลยจูลส์มีความเชื่อในพระเจ้าจริงๆและเชื่อมากกับเรื่องความอัศจรรย์ใจที่เกิดขึ้นกับพวกเขาตอนที่วินเซนต์และเขาไปรับของที่ถูกขโมยมาจากคนกลุ่มหนึ่งในห้องถึงที่แต่เป็นว่าอยู่ดีๆมีคนที่แอบอยู่หลังครัวโผล่มายิงใส่ทั้งคู่แต่ไม่เป็นอะไรเลย มีเพียงร่องรอยการยิงข้างหลังที่ผนังห้องเป็นเรื่องแปลกใจของทั้งคู่ทันที สำหรับจูลส์แล้วนี้คือปฏิหาริย์ของพระเจ้าที่แสดงสิ่งเหลือเชื่อออกมาแล้วคิดว่าเป็นการบ่งบอกถึงบางสิ่งทำให้หลังจากนั้นเขาตัดสินที่จะเลือกเป็นนักฆ่าไปเพราะเหตุผลนี้ ขณะที่วินเซนต์เองยังแปลกใจไม่น้อยที่ตัวเองไม่เป็นอะไรทว่าในใจกลับคิดว่าเป็นเรื่องบังเอิญสักอย่างหนึ่งและเขาไม่เชื่อในพระเจ้าที่มอบโอกาสแก้ตัวและยังคงทำงานต่อไปในฐานะนักฆ่าคนหนึ่งจากสองคนร่วมทางแล้วเรื่องวุ่นๆก็เกิดขึ้นก่อนที่จูลส์จะเลิกเป็นนักฆ่า
 

มีความงามในอารมณ์ร่วมที่ตรึงตาได้อย่างเหนียวแน่น  แม้ในเรื่องจะมีฉากความความรุนแรงมากมายแต่ก็ไม่ได้ให้ความรู้สึกที่รับไม่ได้หรือโอเว่อร์เกินไป แถมบางฉากยังแสดงถึงความรัก ความโรแมนติกของหนัง ซึ่งในเรื่องก็ตอนวินเซนต์รับหน้าที่อารักขาภรรยาของผู้เป็นเจ้านายที่ตัวเองอ่อนไหวไม่เหมือนตอนทำงานฆ่าคนเลย หรือจะและบุตซ์ คูลลิดจ์ที่อ่อนโยนกับภรรยาของเขาเสมอแม้ว่าจะโกรธเคืองในข้อผิดพลาดของเธอก็ตาม ไม่ใช่แค่เรื่องอารมณ์ของมิติตัวละครแต่ยังเรื่องบทสนทนาที่ถ้าลองฟังเสียงต้นฉบับที่ไม่ใช่การพากย์จะพบได้ถึงอารมณ์ขันที่เฮฮาผ่านการสนทนาที่ใช้คำว่า "FUCK" ทั้งสิ้น 281 ครั้ง ฟังไปฟังมาเป็นการพูดคุยที่มันส์ไม่ใช่เล่น ยังไม่หมดเพียงแค่นั้นยังรวมถึงความบังเอิญแบบออกแนวกวนๆที่ถ้าใครจับได้จะรู้ว่าทุกครั้งที่วินเซนต์เข้าห้องน้ำมักจะมีเรื่องร้ายๆเกิดขึ้น ไม่เชื่อก็ลองสังเกตว่าวินเซนต์เข้าห้องน้ำแล้วเป็นยังไง แต่จะอะไรซะยิ่งกว่าการสูบบุหรี่ที่ใช้ยี่ห้อเดียวกันหมดทั้งเรื่องของ Red Apple Cigarettes ที่ตัวกล่องก็เข้ากับโทนของหนังซะงั้น ชื่อของวินเซ็นต์ เวก้าเป็นตัวละครพี่น้องกับวิค เวก้า หรือ Mr.Blonde จากหนัง Reservoir Dogs (1992) ผลงานกำกับเรื่องก่อนหน้านี้ของ Quentin Tarantino

ย้อนกลับมาที่ตัวละครวินเซ็นต์ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นตัวเด่นที่สุดในเรื่องเพราะอุปนิสัยที่เด่นตลอดเวลาแต่ไม่ถึงกับขโมยซีนของใครๆได้ ซึ่งกับตอนที่อยู่กับภรรยาของเจ้านายทำให้รู้อีกนิสัยอย่างหนึ่งคืออารมณ์รับฟังและรับผิดชอบต่อหน้าที่อย่างดีเยี่ยม วินเซ็นต์ต้องเริ่มตั้งแต่ไปบ้านเจ้านายเพื่อรับภรรยาเจ้านายหรือเมีย วอลเลซในการไปทานอาหารมือค่ำ ประเด็นอย่างหนึ่งที่หนังนำเสนอคือยาเสพติดเฮโรอีนที่แสดงถึงอิทธิพลกับกลุ่มคนที่อยากยาหรือเป็นประเภทที่ไม่มีอะไรทำมากกว่า จากฉากที่เห็นทั้งผงเฮโรอีนทั้งการสูดหรือแจกแจงแบ่งเป็นส่วนนั้นชัดเจนและใกล้มาก ตอนที่วินเซ็นต์ไปที่บ้านเมีย วอลเลซก็เป็นเช่นนั้นคือกำลังเสพยาอยู่หลังจากนั้นจึงไปร้านอาหารที่มากเรื่องไอเดียซะจริง มาถึงจุดนี้จะมีอยู่ฉากที่น่าจดจำถือเป็นฉากเด็ดประจำเรื่องเลยก็ว่าได้ที่วินเซ็นต์กับเมีย วอลเลซออกไปเต้นเพราะเป็นความต้องการของเมีย วอลเลซที่อยากปลดปล่อย ซึ่งท่าทีวินเซ็นต์เกือบไม่สบอารมณ์อยู่แล้วตอนแรกพอได้ออกไปเต้นเท่านั้นแหละเต้นกันได้สุดๆจริงๆ โดยเฉพาะการชูนิ้วกวาดผ่านสายตาที่กลายเป็นเรื่องฮิตไปเลย ยิ่งกับเบื้องหลังแล้วการเต้นพวกนี้ไม่ได้จัดแจ้งมาก่อนว่าต้องเต้นยังไงปล่อยให้นักแสดง John Travolta กับ Uma Thurman โชว์สดไปเลย แต่กับ John Travolta แล้วการเห็นท่าเต้นกวนๆแบบนั้นมันตลกและเรียกอารมณ์สนุกได้ธรรมชาติผิดกับเรื่องอื่นก่อนหน้านี้ที่มักแสดงเป็นนักเต้นเอามันส์มากกว่า
 

"ถ้าไม่เป็นอะไรช่วยพูดอะไรสักอย่างได้ไหม"

"สักอย่าง"
 
กลับมาที่เรื่องวินเซ็นต์กับภรรยาเจ้านายเมีย วอลเลซกันต่อ หลังจากนั้นทั้งคู่ได้กลับบ้านแบบเมามันส์ในอารมณ์ ซึ่งหลังจากนั้นเมีย วอลเลซก็เล่นยาต่ออีกแต่คราวนี้ช็อก วินเซ็นต์ออกจากห้องน้ำออกมาพร้อมกับอาการตกใจเพราะถ้าเจ้านายรู้เรื่องนี้เขาตายแน่ๆจึงรีบส่งตัวพาไปหาเพื่อนคนหนึ่งใกล้ๆเพื่อช่วยเหลือ เหตุการณ์ตรงนี้แหละที่ชวนสนุกและฮากับสถานการณ์ที่เดี๋ยวดูเครียดแต่แอบตลกร้ายเอาไว้ ตอนจะช่วยก็ต้องฉีดอะดรีนาลีนเพื่อให้ฟื้น ทว่าก่อนฉีดนี่สิมีอารมณ์ครบรสทั้งตื่นเต้น เครียด และฮาแบบเครียดๆที่ไม่มีใครกล้าฉีดอะดรีนาลีนเพราะไม่เคยทำกันมาก่อน ดูเป็นเรื่องชุลมุนที่วุ่นวาย พอจะฉีดมุมกล้องทำได้หวาดเสียวกับเข็มแหลมๆกับจุดแดงๆที่จะปลักตรงหัวใจ พอปลักเข็มลงไปเท่านั้นสะดุ้งขึ้นมาทันทีและพบเมีย วอลเลซได้สติมาแล้ว คราวนี้วินเซ็นต์รอดตัวไปแบบตื่นเต้น แล้วจะอะไรอีกหลังจากนั้นที่ทั้งคู่ต่างรอดพ้นจากความตายที่เกือบได้ตายจริงๆทั้งคู่
 

"เขารู้ถ้าเวียดกงเห็นนาฬิกานี้มันจะต้องยึดเอาไปชิงเอาไป พ่อจึงมองว่านาฬิกาเรือนนี้คือมรดกและเขาจะไม่ยอมให้พวกเวียดกงแตะต้องมรดกของเธอแน่ เขาก็เลยซ่อนเอาไว้ในก้นเขาซึ่งที่จะไม่มีใครหามันพบ ตลอดห้าปีเขาเอานาฬิกายัดใส่ก้น เมื่อเขาตายด้วยโรคบิดเขามอบมันให้ซ่อนเอาไว้ในก้นฉันอย่างอึดอัดต่อสองปี แล้วหลังจากเจ็ดปีฉันได้ถูกช่วยเหลือกลับบ้าน ตอนนี้ พ่อหนุ่มฉันขอมอบมันให้เธอนะ"
 
เรื่องราวของบุตช์ คูลลิดจ์นักมวยที่คำสัญญาลับๆกับมาร์เซลลัส วอลเลซที่จะล้มมวยแต่กลับไปฆ่าคู่ชกแบบไม่ตั้งใจกลายเป็นเรื่องหลบหนีพร้อมกับภรรยาของตัวเองที่ต้องหลบๆซ่อนก่อนจะมาวุ่นวายเพราะนาฬิกาตัวเองหาย บุตช์ตัวละครที่ใจร้อนตอนไม่ได้ดั่งใจแต่ใจเย็นตอนที่ไม่มีปัญหารบกวน เมื่อรู้นาฬิกาตัวเองหายไปทำให้อารมณ์โกรธจึงเกิดขึ้น ทว่าแม้จะโกรธมากแค่ไหนก็พยายามห้ามใจไม่ให้เกินเลยความสัมพันธ์กับภรรยาของตัวเอง แม้จะเป็นการกระทำลับหลังก็ตามแต่ต่อหน้ายอมให้อภัยได้เหตุการณ์มันเริ่มตอนที่ต้องย้อนกลับไปเอานาฬิกาที่ลืมไว้ในห้องที่เผอิญไปเจอปืน แล้วมันเป็นปืนของใคร จนกระทั่งมีคนออกจากห้องน้ำนั้นแหละถึงรู้ว่าใคร อยากจะบอกจุดนี้จริงๆว่าเป็นนักฆ่าภาษาอะไรลืมไว้หน้าห้องน้ำเดี๋ยวก่อนนี้ก็มุขตลกอย่างหนึ่งที่เรียกว่าตลกร้ายสินะ หลังจากได้นาฬิกาคู่ใจก็เผอิญไปเจอมาร์เซลลัส วอลเลซอีกกลายเป็นไล่ล่ากันแบบไม่ทันตั้งตัวก่อนจะหมดแรงไปเข้าร้านที่คนขายดันเป็นเกย์ที่อัดทั้งคู่สลบไปและพร้อมจะอัดถั่วดำ จากเรื่องไล่ล่าฆ่ากันตามประสาอำนาจเจ้าพ่อกลายเป็นเสื่อมอำนาจทันทีเมื่อกำลังจะโดนตุ๋ยข้างหลัง และความพลิกแพลงก็เกิดขึ้นเมื่อบุตช์ได้ช่วยมาร์เซลลัสทำให้ไม่คิดเอาเรื่องบุตช์อีกเพื่อแลกกับการห้ามเอาเรื่องนี้ไปบอกใครเพราะอับอาย แต่มีข้อแม้ให้ออกจากแอลเอให้เร็วที่สุด สรุปว่าเป็นเหตุการณ์ที่ฮาร้ายมากๆไม่ใช่แค่ความบังเอิญเท่านั้นเป็นไปถึงเรื่องเหลือเชื่อที่จู่สถานการณ์พลิกแบบไม่น่าเชื่อ ยอมรับเลยว่าหนังสุดกวน...จริงๆ
 

Pulp Fiction เปรียบเสมือนของหวานที่เสิร์ฟก่อนอาหารจานด่วนที่ตบท้ายด้วยอาหารจานหลัก ที่เนื้อเรื่องเริ่มตื่นตาและเด็ดเข้มข้นมากขึ้นจากช่วงแรกที่กินคะแนนไปไม่มากจนยิ่งหนังไปต่อได้มากเท่าไหร่คะแนนเริ่มเทมากขึ้นเท่านั้น ที่สำคัญการจัดการตัวละครถือว่าเคลียร์ได้แต้มที่จัดแจ้งรายละเอียดเข้าไปอย่างมีมิติที่เห็นมุมมองได้หลายแบบจนหยั่งรู้นิสัยใจคอกันดี ยิ่งการหักมุมแบบด้านๆที่แสดงออกมาทำให้ทีเด็ดไม่มีขอบเขตว่าต้องเก็บเอาไว้ใช้ตอนจบเพราะทุกอย่างต้องเชื่อมเข้าหากันเองโดยไม่พึ่งคำถามให้ย้อนกลับแค่กระตุ้นต่อมสงสัยว่าทำไมมากกว่าจะคิดว่าแล้วผลจะเป็นยังไงต่อ ซึ่งถ้าลองมองดูดีๆแต่ละฉากทุกช็อตทุกเซ็ตจะมีองค์ประกอบที่เหมือนจิ๊กซอว์เพียงต้องใช้ความคิดใหม่ว่านี้ไม่ใช่การต่อจิ๊กซอว์ในส่วนที่หายไปแต่เป็นการยกแผงจิ๊กซอว์ทั้งหมดมาประกอบเป็นรูปใหญ่ขึ้น การแสดงไม่ต้องพูดถึงว่าใครเป็นใครเพราะทุกคนเล่นได้ดี การแจกจ่ายบทถือว่าโอเคเลยเข้ากับเหตุการณ์แต่ละอย่างได้ลงตัว เรื่องโทนหรือบรรยากาศเองเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองดีสำกรับความโหดคงรู้ๆกันกับผู้กำกับท่านนี้ ถือว่าเป็นหนังที่มีอรรถรสกับผู้ชมได้คุ้มค่าจริงๆ ไม่ต้องแอ็คชั่นเพราะดาราที่น่าจะระห่ำยิงกันบาดใจหรือจะหักมุมเรื่องราวแบบคอตก ซึ่งถือเป็นที่ยืนยันแล้วว่าหนังจะสนุกมากแค่ไหนถ้าขาดเนื้อเรื่องที่ผูกหากันต่อให้ไอเดียดียังไงถ้าหาข้อสรุปในข้อกังขาไม่ได้เท่ากับหนังตายไม่รู้ตัว สรุปว่าหนังเรื่องนี้ไม่หามาดูไม่ได้แล้ว

รูปภาพของฉัน
เกิดปี 2538 (1995) แค่คนที่เรียนจบสาธารณสุขศาสตร์ แต่ชอบดูหนังเป็นชีวิตจิตใจ ที่เขียนรีวิวเพราะอยากแบ่งปันความรู้สึกที่ตัวเองมีให้อ่าน และกำลังทำช่อง YouTube เกี่ยวกับหนังสือ(การ์ตูนเป็นหลัก)